เกี่ยวกับทิพยประกันชีวิต
การลงทุนของบริษัท
นโยบายและวัตถุประสงค์การลงทุนของบริษัท
คณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทที่ ดำเนินธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งเป็นธุรกรรมที่สำคัญต่อการดำเนินงานและความมั่นคงของบริษัท คณะกรรมการบริษัทฯ จึงในการให้ความสำคัญต่อการกาหนดนโยบาย การลงทุนและประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท นโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวม รวมถึงติดตามควบคุมการลงทุนและประกอบธุรกิจอื่น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการ ดำเนินการอย่างเหมาะสม เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับภาระผูกพันที่มีต่อเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย บมจ.ทิพยประกันชีวิตจึงมีนโยบายการลงทุน ในการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญในเรื่องของปลอดภัยของเงินต้นและอัตราผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน เพื่อให้ลูกค้าและสังคมมีความ เชื่อมั่นต่อความแข็งแกร่งทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทฯ ในภาพรวม
กระบวนการลงทุน
โครงสร้างการดำเนินการลงทุนของบริษัทฯ มีกรอบการดำเนินงานการลงทุนที่ประกอบด้วย
1. คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่พิจารณาอนุมัตินโยบายการลงทุน จัดให้มีกระบวนการติดตามสอดส่องผลการดำเนินงานด้านการลงทุน ระบบการควบคุมและ ตรวจสอบภายในที่เพียงพอ รวมถึงการจัดให้มีการทบทวนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้(risk appetite) ของบริษัทฯ
2. คณะกรรมการลงทุน มีหน้าที่จัดทำกรอบนโนบายลงทุน พิจารณาแผนการลงทุน กำกับดูแลการลงทุนของบริษัทให้เป็นไปตามกรอบนโยบาย กำกับดูแลในเรื่องธรร มาภิบาล อีกทั้งมีหน้าที่กำกับดูแล ระบบงาน บุคลากร และข้อมูลที่ใช้ประกอบการลงทุนให้มีความเพียงพอต่อการดำเนินงาน
3. หน่วยงานการลงทุน โดยสายงานการลงทุนทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลการลงทุนของบริษัท มีหน้าที่ดำเนินการด้านการลงทุนให้ได้ตามเป้าหมาย ภายใต้กรอบการ ลงทุนและนโยบายที่กำหนด
สมมติฐานและวิธีการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ลงทุน
บริษัทให้เกณฑ์สมมติฐานและวิธีการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการ คปภ. เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของ บริษัทประกันชีวิต ซึ่งโดยในภาพรวมจะใช้เกณฑ์การประเมินราคาทรัพย์สินตามราคา ณ สิ้นวัน เผยแพร่โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงสำหรับสินทรัพย์แต่ละประเภท อาทิ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
ทั้งนี้สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณให้มีรายละเอียด ดังนี้
หน่วยล้านบาท
ประเภท
สินทรัพย์ลงทุน
|
มูลค่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม | |||
---|---|---|---|---|
ปี 2560 | ปี 2559 | |||
ราคาบัญชี | ราคาประเมิน | ราคาบัญชี | ราคาประเมิน | |
เงินฝากสถาบันการเงินและบัตรเงินฝากสถาบันการเงิน | 209.88 | 209.88 | 316.32 | 316.32 |
ตราสารหนี้ (พันธบัตร, หุ้นกู้, ตั๋วสัญญาใช้เงิน, ตั๋วแลกเงิน, หุ้นกู้, แปลงสภาพและสลากออมทรัพย์) |
13,989.33 | 13,989.33 | 10,889.24 | 10,889.24 |
ตราสารทุน (ไม่รวมเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม) | 726.79 | 726.79 | 82.49 | 82.49 |
หน่วยลงทุน | 3,424.22 | 3,424.22 | 3,582.12 | 3,582.12 |
เงินให้กู้ยืมโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยเป็นประกัน | 80.65 | 87.83 | 88.42 | 96.07 |
เงินให้กู้ยืม และเงินให้เช่าซื้อรถ และให้เช่าทรัพย์แบบลิสซิ่ง | - | - | - | - |
ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อซื้อหุ้นกู้, หน่วยลงทุน | - | - | - | - |
ตราสารอนุพันธ์ | - | - | - | - |
เงินลงทุนอื่น | 7.46 | 7.49 | 7.46 | 7.49 |
รวมสินทรัพย์ลงทุน | 18,438.33 | 18,445.54 | 14,966.05 | 14,973.73 |
หมายเหตุ
- ราคาบัญชี หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สิน ที่ประเมินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
- ราคาประเมิน หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สินที่ประเมินตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมิน ราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันชีวิต เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการกำกับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยและเพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทมีความสามารถในการจ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยได้อย่างครบถ้วนแก่ผู้เอาประกันภัย